วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

การบ่มเพาะวิสาหกิจ (Business Incubation) คือ






การบ่มเพาะวิสาหกิจ คืออะไร ?
      การบ่มเพาะวิสาหกิจ (Business Incubation) คือ ขบวนการพัฒนาธุรกิจแบบหนึ่ง ซึ่งช่วยลดอัตราความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ ในช่วงแรกเริ่มของการจัดตั้งวิสาหกิจ พร้อมกับการเร่งให้วิสาหกิจนั้นๆ เติบโตอย่างมั่นคง และคงอยู่ตลอดไป เป็นการสร้างงานและความมั่นคงให้แก่สังคมและประเทศชาติ
      ในการดำเนินงานการบ่มเพาะวิสาหกิจ ผู้ประกอบการใหม่ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาอยู่ในโครงการ จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยมีบริการปรึกษาแนะนำในลักษณะพี่เลี้ยงดูแลผู้รับการบ่มเพาะ เสริมด้วยกิจกรรมเสริมความเข้มแข็ง และอื่นๆ การดูแลในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจประมาณ 1-2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ ทดลองและปรับปรุงการทำธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาสินค้าของตนเอง จนเกิดความมั่นใจ สามารถจัดตั้งธุรกิจ และยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง หลังจากหมดระยะเวลาบ่มเพาะไปแล้ว

flo.gifศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ คืออะไร ?
      ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ( Business Incubation Center) เป็นสถานที่ๆถูกจัดสรรให้แก่ผู้ประกอบการ ประกอบด้วยพื้นที่ขนาดย่อมจำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจในช่วงเริ่มต้น ภายในบรรยากาศที่ให้การสนับสนุน การให้บริการ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานแก่ผู้ประกอบการ
      ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ เป็นรูปแบบของการสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีการดูแลอย่างใกล้ชิด และให้บริการปรึกษาแนะนำในลักษณะของพี่เลี้ยงทางธุรกิจที่จะคอยดูแลผู้ประกอบการใหม่ เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจที่อยู่ในระยะก่อตั้งกิจการ ให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยอาศัยการแนะนำอย่างใกล้ชิด ทั้งจากทีมที่ปรึกษาของสถาบันฯ และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์จริง การสร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิกด้วยกัน การแบ่งปันประสบการณ์การทำธุรกิจระหว่างสมาชิก ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจจะเป็นแหล่งศูนย์รวมความรู้ในการจัดทำธุรกิจ และเป็นการช่วยลดต้นทุนในกระบวนการจัดตั้งกิจการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดสำหรับธุรกิจใหม่

flo.gifลักษณะของการบ่มเพาะวิสาหกิจ มีแบบใดบ้าง ?
      โดยทั่วไปการบ่มเพาะวิสาหกิจมี 2 ลักษณะ คือ
     
1. การบ่มเพาะแบบ in-wall incubation คือ ผู้ถูกบ่มเพาะจะต้องเข้ามาอยู่ในศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ที่ศูนย์บ่มเพาะฯจัดเตรียมไว้ให้ เต็มเวลา ของช่วงระยะการบ่มเพาะ โดยที่จะมีการจัดพื้นที่สำนักงาน และพื้นที่การผลิตพร้อมอุปกรณ์เครื่องมือการผลิตที่จะต้องใช้ร่วมกันไว้ให้ใน อาคารศูนย์บ่มเพาะฯ ตลอดจนมีที่ปรึกษาเป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ตลอดช่วงเวลาของการบ่มเพาะ
      2. การบ่มเพาะแบบ out-wall incubation คือ ผู้รับการบ่มเพาะมีสถานที่ตั้งธุรกิจ มีสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรของตนเอง ต้องการเพียงการบริการปรึกษาแนะนำ จากเจ้าหน้าที่บ่มเพาะวิสาหกิจ และที่ปรึกษาเฉพาะทางซึ่งให้คำปรึกษาในเชิงลึก ที่จะจัดหาให้ในช่วงเวลาการบ่มเพาะ การให้บริการปรึกษาจะจัดให้ทั้งในศูนย์บ่มเพาะฯ และ ณ สถานที่ประกอบการของผู้ประกอบการ
flo.gifผู้ประกอบการใหม่จะได้รับประโยชน์อะไร?
       จากการบ่มเพาะวิสาหกิจบริการที่ผู้ประกอบการจะได้รับ ได้แก่
      
1. ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่บ่มเพาะวิสาหกิจ (mentor) ที่ปรึกษาในเรื่องการจัดตั้ง และเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ
       2. มีทีมงานที่ปรึกษาเฉพาะทาง ให้คำปรึกษาในเชิงลึก 2 ทีม คือ
          
- ทีมที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจ ให้คำแนะนำด้านการบริหารตลาด บริหารการผลิต บริหารด้านการเงิน บริหารบุคลากร และอื่นๆ
          
- ทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิคการผลิตและเทคโนโลยี ให้คำแนะนำด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์
flo.gifใครคือกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับเลือกเข้ากิจกรรมบ่มเพาะฯ ?
       1. นักศึกษาที่สนใจและมีศักยภาพทางธุรกิจ
         
- นักศึกษาระดับปริญญาตรีตั้งแต่ปี 3 ขึ้นไป
         
- นักศึกษาระดับปริญญาโท
       2. บัณฑิตและศิษย์เก่าที่สนใจและมีศักยภาพทางธุรกิจ
       3. เจ้าของผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และผลงานสร้างสรรค์ ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในแนวทางที่เหมาะสม
       4. บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่สนใจทางธุรกิจ
       5. ชมรมผู้ประกอบการนักศึกษา
       6. เอกชนภายนอกที่มีความร่วมมือทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ และผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย
flo.gifเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกมี อย่างไร ?
       1. ผู้สมัครทุกคนจะต้องผ่านการคัดเลือก สัมภาษณ์ และการประเมินความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ
      
2. ต้องมีแผนธุรกิจและแนวคิดทางธุรกิจที่ชัดเจน หรือข้อเสนอโครงการที่สามารถดำเนินการตามแผนได้
      
3.เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเคยอยู่ในแวดวงธุรกิจ และมีความมุ่งมั่นและตั้งใจสูงที่จะมีธุรกิจเป็นของตนเองที่ประสบความสำเร็จ
      
4. มีสินทรัพย์ และ/หรือเงินสด ไม่ต่ำกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด
flo.gifรูปแบบการบ่มเพาะ มีกี่แบบ ?
      1. การบ่มเพาะแบบ In Wall Incubation
         
สำหรับผู้ถูกบ่มเพาะที่ยังไม่มีพื้นที่ตั้งธุรกิจ จึงต้องเข้ามาอยู่ในพื้นที่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจที่ได้จัดเตรียมไว้ให้
     
2. การบ่มเพาะแบบ Out Wall Incubation
         
สำหรับผู้ถูกบ่มเพาะที่มีพื้นที่ตั้งธุรกิจเป็นของตนเองแล้ว เช่นมีสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องมือ และเครื่องจักรของตนเองอยู่แล้ว ต้องการเพียงบริการปรึกษาแนะนำจากพี่เลี้ยง และที่ปรึกษาเฉพาะทางที่ทางศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจจัดหาให้ในช่วงระยะเวลาการบ่มเพาะ
flo.gifบริการบ่มเพาะวิสาหกิจ มีอะไรบ้าง ?
      1. บริการให้พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
     
2. บริการให้คำปรึกษา และการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่บ่มเพาะวิสาหกิจ ในเรื่องการจัดตั้ง แผนธุรกิจ และเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ
     
3. บริการปรึกษาแนะนำจากทีมที่ปรึกษาเฉพาะทาง ได้แก่
        
-ทีมที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่จะให้คำแนะนำด้านธุรกิจทุกด้าน ทั้งในด้านของการบริหารการตลาด การบริหารการเงิน การบริหารบุคคล การตลาดส่งออก เป็นต้น
        
-ทีมที่ปรึกษาเฉพาะทางในด้านการผลิต, เทคโนโลยี, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
     
4. บริการฝึกอบรมให้ความรู้พื้นฐานและกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจ เช่น การดูงาน/ออกงานนิทรรศการต่างๆ กิจกรรม Business Matching การพบปะนักธุรกิจรุ่นพี่ การเสนอแผนกับสถาบันการเงิน และการหาผู้ร่วมลงทุน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น