วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึงผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้น


แผนธุรกิจ ก็เป็นทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร


        ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึงผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้น หรือความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์ หรือวิธีการในการแสดงออก ทรัพย์สินทางปัญญาอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สินค้าต่างๆ หรือเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น บริการ แนวความคิด กรรมวิธี และทฤษฏีต่างๆ เป็นต้น
ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)
       
คือ ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้า ที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้า และการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
             
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1.1    สิทธิบัตร (Patent)
1.2    แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Dsigns of Integrated Circuit)
1.3    เครื่องหมายการค้า (Trademark)
1.4    ความลับทางการค้า (Trade Secrets)
1.5    ชื่อทางการค้า (Trade Name)
1.6    สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication)

2. ลิขสิทธิ์ (Copyright)
   การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology Transfer)
รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
         1.  การทำสัญญาวิจัย ได้แก่
1.1  สัญญารับทุนสนับสนุนการวิจัย
(Sponsored Research)
1.2  สัญญารับจ้างวิจัย
(Commission Research)
1.3  สัญญาร่วมวิจัย
(Collaborative Research)
1.4  สัญญาให้สารหรือวัสดุเพื่อการวิจัย
(Research Materials Transfer)
1.5  สัญญาการให้คำปรึกษา(Research Consultancies)
      2.  การอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing)
      3.  การจัดตั้งบริษัท
(Spin-off/Start-Up Companies)
        
     โดยการพิจารณาว่าจะเลือกรูปแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบบใดที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อมหาวิทยาลัยและผู้ประดิษฐ์ / นักวิจัย


flo.gifการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (Licensing)
    
         การอนุญาตให้ใช้สิทธิคือการอนุญาตให้ผู้ขอใช้สิทธิได้ใช้สิทธิใดๆ เช่น ผลิต ใช้ ขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร จากผู้อนุญาตให้ใช้สิทธิซึ่งเป็นเจ้าของสิทธินั้น โดยไม่มีการเปลี่ยนความเป็นเจ้าของโดยทั่วไป การอนุญาตให้ใช้สิทธิจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
       
         1. ให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Licensing)
         2. ให้ใช้สิทธิโดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว (Non-Exclusive
Licensing)
         3. ให้ใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแต่ไม่จำกัดเจ้าของสิทธิ
(Sole Licensing)

การบ่มเพาะวิสาหกิจ (Business Incubation) คือ






การบ่มเพาะวิสาหกิจ คืออะไร ?
      การบ่มเพาะวิสาหกิจ (Business Incubation) คือ ขบวนการพัฒนาธุรกิจแบบหนึ่ง ซึ่งช่วยลดอัตราความล้มเหลวในการดำเนินธุรกิจ ในช่วงแรกเริ่มของการจัดตั้งวิสาหกิจ พร้อมกับการเร่งให้วิสาหกิจนั้นๆ เติบโตอย่างมั่นคง และคงอยู่ตลอดไป เป็นการสร้างงานและความมั่นคงให้แก่สังคมและประเทศชาติ
      ในการดำเนินงานการบ่มเพาะวิสาหกิจ ผู้ประกอบการใหม่ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาอยู่ในโครงการ จะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดโดยมีบริการปรึกษาแนะนำในลักษณะพี่เลี้ยงดูแลผู้รับการบ่มเพาะ เสริมด้วยกิจกรรมเสริมความเข้มแข็ง และอื่นๆ การดูแลในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นของการดำเนินธุรกิจประมาณ 1-2 ปี เพื่อให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้ ทดลองและปรับปรุงการทำธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาสินค้าของตนเอง จนเกิดความมั่นใจ สามารถจัดตั้งธุรกิจ และยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง หลังจากหมดระยะเวลาบ่มเพาะไปแล้ว

flo.gifศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ คืออะไร ?
      ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ( Business Incubation Center) เป็นสถานที่ๆถูกจัดสรรให้แก่ผู้ประกอบการ ประกอบด้วยพื้นที่ขนาดย่อมจำนวนหนึ่งเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจในช่วงเริ่มต้น ภายในบรรยากาศที่ให้การสนับสนุน การให้บริการ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานแก่ผู้ประกอบการ
      ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ เป็นรูปแบบของการสร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีการดูแลอย่างใกล้ชิด และให้บริการปรึกษาแนะนำในลักษณะของพี่เลี้ยงทางธุรกิจที่จะคอยดูแลผู้ประกอบการใหม่ เพื่อช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจที่อยู่ในระยะก่อตั้งกิจการ ให้สามารถดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืนต่อไป โดยอาศัยการแนะนำอย่างใกล้ชิด ทั้งจากทีมที่ปรึกษาของสถาบันฯ และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์จริง การสร้างเครือข่ายระหว่างสมาชิกด้วยกัน การแบ่งปันประสบการณ์การทำธุรกิจระหว่างสมาชิก ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจจะเป็นแหล่งศูนย์รวมความรู้ในการจัดทำธุรกิจ และเป็นการช่วยลดต้นทุนในกระบวนการจัดตั้งกิจการ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดสำหรับธุรกิจใหม่

flo.gifลักษณะของการบ่มเพาะวิสาหกิจ มีแบบใดบ้าง ?
      โดยทั่วไปการบ่มเพาะวิสาหกิจมี 2 ลักษณะ คือ
     
1. การบ่มเพาะแบบ in-wall incubation คือ ผู้ถูกบ่มเพาะจะต้องเข้ามาอยู่ในศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ ที่ศูนย์บ่มเพาะฯจัดเตรียมไว้ให้ เต็มเวลา ของช่วงระยะการบ่มเพาะ โดยที่จะมีการจัดพื้นที่สำนักงาน และพื้นที่การผลิตพร้อมอุปกรณ์เครื่องมือการผลิตที่จะต้องใช้ร่วมกันไว้ให้ใน อาคารศูนย์บ่มเพาะฯ ตลอดจนมีที่ปรึกษาเป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ตลอดช่วงเวลาของการบ่มเพาะ
      2. การบ่มเพาะแบบ out-wall incubation คือ ผู้รับการบ่มเพาะมีสถานที่ตั้งธุรกิจ มีสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรของตนเอง ต้องการเพียงการบริการปรึกษาแนะนำ จากเจ้าหน้าที่บ่มเพาะวิสาหกิจ และที่ปรึกษาเฉพาะทางซึ่งให้คำปรึกษาในเชิงลึก ที่จะจัดหาให้ในช่วงเวลาการบ่มเพาะ การให้บริการปรึกษาจะจัดให้ทั้งในศูนย์บ่มเพาะฯ และ ณ สถานที่ประกอบการของผู้ประกอบการ
flo.gifผู้ประกอบการใหม่จะได้รับประโยชน์อะไร?
       จากการบ่มเพาะวิสาหกิจบริการที่ผู้ประกอบการจะได้รับ ได้แก่
      
1. ได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่บ่มเพาะวิสาหกิจ (mentor) ที่ปรึกษาในเรื่องการจัดตั้ง และเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ
       2. มีทีมงานที่ปรึกษาเฉพาะทาง ให้คำปรึกษาในเชิงลึก 2 ทีม คือ
          
- ทีมที่ปรึกษาด้านการบริหารธุรกิจ ให้คำแนะนำด้านการบริหารตลาด บริหารการผลิต บริหารด้านการเงิน บริหารบุคลากร และอื่นๆ
          
- ทีมที่ปรึกษาด้านเทคนิคการผลิตและเทคโนโลยี ให้คำแนะนำด้านการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์
flo.gifใครคือกลุ่มเป้าหมายที่จะได้รับเลือกเข้ากิจกรรมบ่มเพาะฯ ?
       1. นักศึกษาที่สนใจและมีศักยภาพทางธุรกิจ
         
- นักศึกษาระดับปริญญาตรีตั้งแต่ปี 3 ขึ้นไป
         
- นักศึกษาระดับปริญญาโท
       2. บัณฑิตและศิษย์เก่าที่สนใจและมีศักยภาพทางธุรกิจ
       3. เจ้าของผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ และผลงานสร้างสรรค์ ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ในแนวทางที่เหมาะสม
       4. บุคลากรของมหาวิทยาลัยที่สนใจทางธุรกิจ
       5. ชมรมผู้ประกอบการนักศึกษา
       6. เอกชนภายนอกที่มีความร่วมมือทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลงานวิจัย ผลงานสร้างสรรค์ และผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยาลัย
flo.gifเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกมี อย่างไร ?
       1. ผู้สมัครทุกคนจะต้องผ่านการคัดเลือก สัมภาษณ์ และการประเมินความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการ
      
2. ต้องมีแผนธุรกิจและแนวคิดทางธุรกิจที่ชัดเจน หรือข้อเสนอโครงการที่สามารถดำเนินการตามแผนได้
      
3.เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ และเคยอยู่ในแวดวงธุรกิจ และมีความมุ่งมั่นและตั้งใจสูงที่จะมีธุรกิจเป็นของตนเองที่ประสบความสำเร็จ
      
4. มีสินทรัพย์ และ/หรือเงินสด ไม่ต่ำกว่า 30% ของเงินลงทุนทั้งหมด
flo.gifรูปแบบการบ่มเพาะ มีกี่แบบ ?
      1. การบ่มเพาะแบบ In Wall Incubation
         
สำหรับผู้ถูกบ่มเพาะที่ยังไม่มีพื้นที่ตั้งธุรกิจ จึงต้องเข้ามาอยู่ในพื้นที่ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจที่ได้จัดเตรียมไว้ให้
     
2. การบ่มเพาะแบบ Out Wall Incubation
         
สำหรับผู้ถูกบ่มเพาะที่มีพื้นที่ตั้งธุรกิจเป็นของตนเองแล้ว เช่นมีสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องมือ และเครื่องจักรของตนเองอยู่แล้ว ต้องการเพียงบริการปรึกษาแนะนำจากพี่เลี้ยง และที่ปรึกษาเฉพาะทางที่ทางศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจจัดหาให้ในช่วงระยะเวลาการบ่มเพาะ
flo.gifบริการบ่มเพาะวิสาหกิจ มีอะไรบ้าง ?
      1. บริการให้พื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
     
2. บริการให้คำปรึกษา และการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่บ่มเพาะวิสาหกิจ ในเรื่องการจัดตั้ง แผนธุรกิจ และเริ่มต้นดำเนินธุรกิจ
     
3. บริการปรึกษาแนะนำจากทีมที่ปรึกษาเฉพาะทาง ได้แก่
        
-ทีมที่ปรึกษาทางธุรกิจ ที่จะให้คำแนะนำด้านธุรกิจทุกด้าน ทั้งในด้านของการบริหารการตลาด การบริหารการเงิน การบริหารบุคคล การตลาดส่งออก เป็นต้น
        
-ทีมที่ปรึกษาเฉพาะทางในด้านการผลิต, เทคโนโลยี, และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
     
4. บริการฝึกอบรมให้ความรู้พื้นฐานและกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินธุรกิจ เช่น การดูงาน/ออกงานนิทรรศการต่างๆ กิจกรรม Business Matching การพบปะนักธุรกิจรุ่นพี่ การเสนอแผนกับสถาบันการเงิน และการหาผู้ร่วมลงทุน

E-Learning การศึกษาไทย




ดร.สมัย เหมมั่น
ดร.วาสนา คงสกุลทรัพย์
ดร.นัทพิชา รบอาจ
ดร.พิมพ์ชนก พ่วงกระแสร์
ดร.รศิตา ทาทอง
ดร.ภัคพิสุทธิ์ กล่อมกระโทก
ดร.กิตตินันท์ พิศสุวรรณ
PDF] 

E-learning กับการศึกษาไทย ( E-learning with Thai Education) - วิชาการ

www.vcharkarn.com/journal/download.php?id...แบ่งปัน
แบ่งปันใน Google+ แล้ว ดูโพสต์
รูปแบบไฟล์: PDF/Adobe Acrobat - มุมมองด่วน
ทั่วโลก (ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา ; 8 มกราคม 2550). ความหมายของ E- ... กระทรวง ศึกษาได้มีการรับรองการศึกษาทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตอย่างเป็นทางการ. ตั้งแต่ต้นปี 2549 ...
  • [PPT] 

    ICT PLAN แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    202.28.94.51/web/.../ICT%20Plan%20for%20MOE.pptแบ่งปัน
    แบ่งปันใน Google+ แล้ว ดูโพสต์
    รูปแบบไฟล์: Microsoft Powerpoint - มุมมองด่วน
    พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ... พัฒนาหลักสูตรให้เอื้อต่อการประยุกต์ใช้ ICT; เพิ่ม ประสิทธิภาพการเรียนทางไกล ... การจัดการศึกษาทางไกลครอบคลุมทุกพื้นที่ และมีศูนย์ บริการ ...
  • [DOC] 

    ใบงานที่ 1 การวิเคราะห์สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540,2550ฯ - koratru14

    koratru14.files.wordpress.com/.../ ...แบ่งปัน
    แบ่งปันใน Google+ แล้ว ดูโพสต์
    รูปแบบไฟล์: Microsoft Word - มุมมองด่วน
    ศ.2540,2550... มาตรา ๔๒ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียน การสอน ... แก้ไขข้อความท้ายตารางเรื่องการศึกษาพรบ.การศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 .... เมืองจนห่างไกลแปลกแยกชีวิตครอบครัวและชุมชนการศึกษาทางเลือกแตกต่างจากการ ...